เกษตรมั่นคง อุตสาหกรรมมั่งคั่ง การค้ารุ่งเรือง เมืองศรีมหาโพธิ















วันที่ 21 ตุลาคม 2565 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าก […]
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร […]
วันที่ 21 ตุลาคม 2565 ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตรครบรอบ 55 ปี พร้อมมอบรางวัลบุคคล หน่วยงานดีเด่น เกษตรกรดีเด่น สถาบันเกษตรกรดีเด่นระดับประเทศ และผู้ทำคุณประโยชน์กับกรมส่งเสริมการเกษตร และแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแก่ข้าราชการและลูกจ้างกรมส่งเสริมการเกษตรโดยมีผู้บริหารกรมส่งเสริมการเกษตร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ร่วมในพิธี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบปีที่ 55 ว่า จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของโลกในปัจจุบัน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คนทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นครัวของโลก วิกฤตดังกล่าวจึงถือเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายสำคัญที่จะต้องเร่งพัฒนาการผลิตอาหารให้เพียงพอ เพื่อเลี้ยงประชากรไทย และประชากรโลก ดังนั้นการพัฒนาให้ภาคการเกษตรมีความเข้มแข็ง รู้เท่าทัน ปรับตัวพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงของโลก จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ด้วยการมุ่งพัฒนาเกษตรกรด้วยนวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่าง ๆ เพื่อให้มีพร้อมทั้งทักษะในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่า การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การยกระดับคุณภาพสินค้า ตลอดจนการแสวงหาช่องทางตลาดที่หลากหลายรองรับ ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในห้วงระยะ 1 ปี ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรมีการพัฒนาและส่งเสริมเกษตรกรในทุกๆ ด้าน โดยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาองค์กรสู่การเป็น Digital DOAE และปรับระบบการทำงานเข้าสู่ New Normal รวมทั้งการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้แนวคิด “Next Step” ขับเคลื่อนองค์กรวิถีใหม่…ก้าวต่อไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล มีการดำเนินงาน 2 แนวทาง ได้แก่ การขับเคลื่อนองค์กรและระบบการทำงาน มุ่งพัฒนากรมส่งเสริมการเกษตรสู่การเป็น Digital DOAE และการดำเนินงานภารกิจสำคัญ ซึ่งถือได้ว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายการทำงานของนักส่งเสริมการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ยังคงดำเนินอยู่ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศและทั่วโลก และในปี 2566 นี้ กรมส่งเสริมการเกษตรจะยังคงมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาเกษตรกร และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้เกิดความอย่างยั่งยืน โดยเน้นหลักตลาดนำการผลิต และนำนวัตกรรม เทคโนโลยี มาปฏิรูปภาคการเกษตรสู่ยุคดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ภายใต้แนวคิด “Keep Going, Keep Growing” และกรอบ “9 ความท้าทาย ก้าวต่อไปของนักส่งเสริมการเกษตร” ซึ่งประกอบด้วย ก้าวแรก การขับเคลื่อนงานพระราชดำริ และเกษตรกรรมยั่งยืน โดยจะเร่งรัดการดำเนินงานตามพระราชดำริให้เกิดผลสำเร็จเพิ่มมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดภัย ก้าวสอง การขับเคลื่อน BCG Model ควบคู่กับการส่งเสริมการเกษตรเชิงพื้นที่ ทำงานเชื่อมโยงร่วมกับหน่วยงานภายนอก โดยจะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ร่วมสร้างต้นแบบ BCG Model ในแต่ละชนิดสินค้า แต่ละพื้นที่ ก้าวสาม การส่งเสริมเกษตรสมัยใหม่ เกษตรอัจฉริยะ มุ่งสู่เกษตรมูลค่าสูง พัฒนาศักยภาพเกษตรแปลงใหญ่สู่ผู้ประกอบการเกษตร ให้เป็นแหล่งผลิตสินค้าเกษตรมูลค่าสูง พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมสู่เกษตรกร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ผลผลิตการเกษตร และส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรมากขึ้น ก้าวสี่ การผลักดันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในงานส่งเสริมการเกษตรให้ครอบคลุมภารกิจต่าง ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานภายในองค์กรให้เป็นดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานส่งเสริมการเกษตร ก้าวห้า การสร้างผู้ประกอบการเกษตรสมัยใหม่ มุ่งเน้นพัฒนา Smart Farmer และ Young Smart Famer ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรสมัยใหม่ พัฒนายกระดับวิสาหกิจชุมชนให้เป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาเตรียมความพร้อมขององค์กรเกษตรกรเพื่อเป็นผู้ประกอบการเกษตร ก้าวหก การส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ เร่งรัดการผลิตและขยายพืชพันธุ์ดีให้กระจายสู่เกษตรกรอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ในการป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและเหมาะสม ก้าวเจ็ด สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายการทำงานในพื้นที่ โดยการพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) รวมทั้งเชื่อมโยงการทำงานร่วมกับศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร (ศพก.) ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.) และหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ ของกรมส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ ก้าวแปด ผลักดันการดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการกับหน่วยงานต่าง ๆ จะดำเนินการจัดกิจกรรมภายใต้ MOU อย่างต่อเนื่อง เกิดผลสำเร็จที่ชัดเจน ยกระดับงานส่งเสริมการเกษตรให้อยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ ก้าวเก้า พัฒนาศักยภาพและการบริหารจัดการองค์กร ถอดบทเรียนความสำเร็จ ขยายผลสู่พื้นที่ใกล้เคียง ร่วมกันสร้างและสะสมผลงาน สร้างชื่อให้กรมส่งเสริมการเกษตร ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับการจัดตั้งเป็นหน่วยงานระดับกรมในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2510 โดยมีภารกิจสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และวิสาหกิจชุมชน ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและการจัดการสินค้าเกษตร รวมทั้งการฝึกอาชีพ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการทางการเกษตร ศึกษา วิจัย และพัฒนางานด้านการส่งเสริมการเกษตร นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า จังหวัดกาญจนบุรีนับเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังติดอันดับต้น ๆ ของประเทศ เกษตรกรมีการปลูกหมุนเวียนต่อเนื่องตลอดทั้งปี ส่งผลให้สถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีสาเหตุหลักจากการนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคไปปลูก และมีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะนำโรค กรมส่งเสริมการเกษตรจึงได้กำหนดมาตรการสร้างการรับรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ได้แก่ 1) มาตรการสร้างการรับรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ เกษตรกร และประชาชนทั่วไป ให้รับทราบและตระหนักรู้เกี่ยวกับที่มา ความสำคัญ ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของโรค ผลกระทบที่เกิดจากการระบาด และแนวทางการป้องกันกำจัด เพื่อเตรียมเฝ้าระวังการเกิดการระบาด และรับมือกรณีเกิดการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง 2) มาตรการเฝ้าระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดขึ้นในพื้นที่ โดยการสำรวจติดตามสถานการณ์การระบาดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ และส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรใช้พันธุ์ทนทานต่อโรคใบด่างมันสำปะหลัง เช่น ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 3) มาตรการควบคุม เพื่อป้องกันการระบาดไม่ให้ขยายวงกว้าง โดยการทำลายต้นเป็นโรคเมื่อพบการระบาด และใช้มาตรการทางกฎหมาย เพื่อควบคุมและจำกัดพื้นที่การระบาดของศัตรูพืช 4) มาตรการให้ความช่วยเหลือ กรณีเกิดความเสียหายตามระเบียบกระทรวงการคลัง 5) มาตรการวิจัยและพัฒนาเพื่อการจัดการในระยะยาว ซึ่งหน่วยงานวิจัยจะศึกษาในเรื่องพันธุ์ต้านทาน หรือการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อลดการระบาดของโรค และ 6) มาตรการติดตามและประเมินผล เพื่อการปรับแก้ในส่วนที่ยังเป็นปัญหาและอุปสรรคได้ทันท่วงที เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพ“21 ตุลาคม 2565” วันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมการเกษตร ครบรอบ 55 ปี เดินหน้าพัฒนาภาคการเกษตร มุ่งมั่นในการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดการทำงาน “Keep Going, Keep Growing”
กรมส่งเสริมการเกษตร รุกเข้มรณรงค์ควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลัง ย้ำขอความร่วมมือเกษตรกร ติดตาม เฝ้าระวัง และป้องกันการระบาดในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ
Posts not found
Posts not found
แบบคำร้องต่างๆสำนักงานเกษตรอำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี
ทะเบียนเกษตรกร (ทบก.)
- แบบคําร้องทะเบียนเกษตรกรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(สําหรับครัวเรือนเกษตรกร)
- แบบคําร้องขอยกเลิกทะเบียนเกษตรกร(หน.ครัวเรือนเกษตรเสียชีวิต+ไม่มีสมาชิกในครัวเรือนเกษตร)
- แบบคําร้องขอยกเลิกทะเบียนเกษตรกร (หัวหน้าครัวเรือนเกษตรเป็นผู้ดําเนินการ)
- แบบคําร้องขอยกเลิกทะเบียนเกษตรกร(สมาชิกในครัวเรือนเกษตรเป็นผู้ดําเนินการ)
- แบบคําร้องขอปรับปรุงข้อมูลสมาชิกในครัวเรือนเกษตร
- แบบคําร้องขอแก้ไขข้อมูลที่แจ้งขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตร(เกษตรกรแจ้งขอแก้ไขข้อมูล)
- แบบคําร้องขอเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนเกษตร(หัวหน้าครัวเรือนเกษตรเป็นผู้ดําเนินการ)
- แบบคําร้องขอเปลี่ยนแปลงหัวหน้าครัวเรือนเกษตร(สมาชิกในครัวเรือนเกษตรเป็นผู้ดําเนินการ)
วิสาหกิจชุมชน
แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช
- แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (สำหรับรายเดียว)
- แบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP (พืชสำหรับกลุ่ม)
- แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (สำหรับรายเดียว)
- แบบคำขอต่ออายุใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช (สำหรับกลุ่ม)
- แบบคำร้อง GAP อื่น ๆ
ลิงค์สำนักงานเกษตรของจังหวัดปราจีนบุรี
- สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี
- สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง
- สำนักงานเกษตรอำเภอกบินทร์บุรี
- สำนักงานเกษตรอำเภอประจันตคาม
- สำนักงานเกษตรอำเภอศรีมโหสถ
- สำนักงานเกษตรอำเภอนาดี
- สำนักงานเกษตรอำเภอบ้านสร้าง